{"title":"การสำรวจแปลงปลูกป่าชาวบ้านในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ด้วยเครื่องกำหนดพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมแบบมือถือ","authors":"สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์, ธีรวิชญ์ วงษา","doi":"10.55766/midf3554","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจแนวเขตแปลงปลูกป่าชาวบ้านด้วยเครื่องกำหนดพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมแบบมือถือ 2) จัดทำฐานข้อมูลแนวเขตแปลงปลูกป่าชาวบ้านด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และ 3) วิเคราะห์อัตราการรอดตายของต้นพันธุ์ และความสัมพันธ์กับระยะห่างจากบ้านของเกษตรกร ความสูง และความลาดชัน ประชากรในการศึกษาครั้งนี้คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการปลูกป่าชาวบ้านของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 52 ราย ผลการวิจัยพบว่า การใช้เครื่องกำหนดพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมแบบมือถือเข้าไปสำรวจแนวเขตแปลงปลูกป่าของเกษตรกรทั้ง 52 ราย นำต้นพันธุ์ไปปลูกในที่ดินของตนเองจำนวน 61 แปลง รวมจำนวนต้นพันธุ์ 39,948 ต้น การปลูกแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การปลูกแบบแนวรั้ว คิดเป็นร้อยละ 43 และการปลูกแบบแปลง คิดเป็นร้อยละ 57 โดยค่าพิกัดที่ได้จากเครื่องกำหนดพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมแบบมือถือมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 7.36 เมตร จากการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่าทำเลที่ตั้งของแปลงปลูกป่าชาวบ้านมีการกระจุกตัวอยู่ใกล้กับชุมชน ที่มีระดับความสูงระหว่าง 401-500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และมีร้อยละความลาดชันระหว่าง 35-50 ต้นจันทร์ทองเทศมีอัตราการรอดตายสูงที่สุด คือร้อยละ 77.59 อัตราการรอดตายมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับระยะห่างจากบ้านของเกษตรกร ความสูง และความลาดชัน โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.27 0.17 และ 0.26 ตามลำดับ แต่ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (r2) เท่ากับ 0.07 0.03 และ 0.07 จึงสรุปได้ว่าอัตราการรอดตายของต้นพันธุ์อาจไม่มีระดับความสัมพันธ์มากกับระยะห่างจากบ้านของเกษตกร ความสูง และความลาดชัน","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"21 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2021-09-21","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Suranaree Journal of Social Science","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.55766/midf3554","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
在大雾开发中心地区,用移动卫星定位器对当地居民进行了野外探索。
这项研究的目的是:1)用移动卫星定位本地种植的土地,2)用地理信息系统建立一个本地种植的土地数据库,3)分析植物存活率和与农民家庭距离、高度和坡度的关系。使用移动卫星定位器,对52名农民的森林进行分区调查,其中61名农民在自己的土地上种植,39,948名农民种植,2种种植,篱笆种植占43%,3种种植占57%。通过地理信息系统分析,当地森林植被的位置分布在海拔401-500米的社区附近,坡度在35-50岁之间,金边的存活率最高。平均存活率为77.59%,与农舍的距离、高度和坡度呈负相关(r)分别为0.27、0.17和0.26,但决策系数(r2)分别为0.07、0.03和0.07,因此结论植株的存活率可能与农舍的距离、高度和坡度没有太大关系。
本文章由计算机程序翻译,如有差异,请以英文原文为准。