{"title":"สถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย","authors":"จันทิมา อังคพณิชกิจ, อธิชาติ โรจนะหัสดิน","doi":"10.55766/cwus3563","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงสำรวจสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อสำรวจอุบัติการณ์โรคซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย ในกรณีนี้คือ มหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลแห่งหนึ่ง และ 2) เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว จำแนกตามตัวแปร เช่น เพศ ชั้นปี วิธีวิจัยดำเนินตามแนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของมหาวิทยาลัยเป้าหมาย ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ เป็นแบบสอบถาม 3 แบบ ได้แก่ 1) CES-D ฉบับภาษาไทย 2) แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2Q และ 3) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9Q โดยสอบถามนักศึกษาระดับปริญญาตรีดังกล่าว จำนวน 700 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ (systematic sampling) ผลของการศึกษาด้านผลการสำรวจจากแบบ คัดกรองโรคซึมเศร้าทั้งสามแบบ พบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยเป้าหมายมีความคิดและอารมณ์ความรู้สึกเบื่อ กดดัน และเหงาที่บ่งชี้อาการของภาวะซึมเศร้ามากที่สุด ส่วนอุบัติการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยดังกล่าว พบว่ามีอัตรา ร้อยละ 23.3 ซึ่งสูงกว่าอัตราร้อยละ 4 ของประชากรไทยที่เข้าข่ายภาวะซึมเศร้าตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization, 2017) อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และพบว่านักศึกษาเพศชายมีอัตราเข้าข่ายภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศหญิงซึ่งเป็นอุบัติการณ์ที่ต่างจากการศึกษาก่อนหน้านี้ ","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"121 5 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2021-06-21","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Suranaree Journal of Social Science","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.55766/cwus3563","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
泰国大学学生的抑郁状况
本研究的目的是对泰国大学学生的抑郁情况进行调查。在这种情况下,泰国大学的学生出现了抑郁症。研究对象为3个调查问卷,1)cs -D泰国版,2)筛查2Q, 3)抑郁评估9Q。根据一项对700名大学生进行系统抽样调查的结果,对这三种类型的抑郁进行了筛选,发现目标大学生的思维和情绪低落、压力大、孤独是最常见的抑郁症状。2017年)统计显著性(P < 0.01),发现男性学生比女性更容易患抑郁症,这是一项与之前的研究不同的情况。
本文章由计算机程序翻译,如有差异,请以英文原文为准。