{"title":"ความสามารถในการทำกำไรของเกษตรกรตามรูปแบบโซ่คุณค่าไหมไทย เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนหม่อนไหมในจังหวัดนครราชสีมา","authors":"อภิชญา ลีลาวณิชกุล, กรทิพย์ วัชรปัญญาวงศ์ เตชะเมธีกุล, ณุกานดา เชิดชูธีรกุล","doi":"10.55766/xtom7324","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบโซ่คุณค่าหม่อนไหมและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา 3 กลุ่มเป็นกรณีศึกษา โดยเก็บข้อมูลกลุ่มละ 50 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมของการผลิตผลิตภัณฑ์ไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่าต้นทุนด้านบุคคลมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 80 ต้นทุนทั้งหมด โดยต้นทุนรวมเฉลี่ยของผ้าไหมเท่ากับ 767.8 บาทต่อเมตรและ มีกำไรเฉลี่ย 398.8 บาทต่อเมตร และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของเกษตรกรด้วยแบบจำลองการถดถอยพหุด้วยวิธีย้อนกลับ พบว่า แต่ละกลุ่มมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรมีความแตกต่างกัน โดยปัจจัยทางประชากรศาสตร์และวิธีการที่กลุ่มใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการย้อมสีธรรมชาติส่งผลเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไรของเกษตรกร ทางด้านปัจจัยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ไหมที่พึงประสงค์ของเกษตรกร พบว่า ปัจจัยด้านเอกลักษณ์ ปัจจัยด้านคุณภาพและ ปัจจัยด้านการรวมกลุ่ม ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของเกษตรกร ดังนั้นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนควรมีการปรังปรุงการผลิตตามต้นทุนกิจกรรม สร้างอัตลักษณ์ให้แก่กลุ่ม เลือกผลิตภัณฑ์ไหมที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้สูงและมีความเหมาะสมกับสมาชิกของกลุ่ม ในส่วนของภาครัฐควรส่งเสริมการลงทุนให้เกิดธุรกิจหม่อนไหมรูปแบบใหม่และสร้างแรงจูงใจกับคนรุ่นใหม่ในการใช้ผลิตภัณฑ์ไหม รวมถึงส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็งและสามารถพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันได้","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"28 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2020-12-23","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":null,"platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Suranaree Journal of Social Science","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.55766/xtom7324","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0
基于泰国丝绸之路价值模式的农民盈利能力,开发了Nakhon Ratchasima社区企业。
本研究的目的是研究桑蚕价值链条的形成及其对桑蚕农民盈利能力的影响。通过收集50个样本,对社区企业生产丝绸产品的基础成本进行分析,发现人力成本占总成本的80%。丝绸的平均总成本为767.8泰铢/米,平均利润为398.8泰铢/米,通过逆向多元回归模型分析影响农民盈利能力的因素,发现不同群体对盈利能力的影响不同。通过自然染料开发产品的人口因素和方法,对农民的盈利能力产生积极的影响。因此,社区企业应该根据成本进行生产评估,以提高产品的价值,并与公共部门的成员保持一致。
本文章由计算机程序翻译,如有差异,请以英文原文为准。