{"title":"航运经营者的物流效率指标的发展","authors":"โรจนี หอมชาลี, มะนิกา ละมณี, ศิรภัสสร แก่นสิงห์","doi":"10.55766/lvjq4727","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"ประเทศไทยมีการขนส่งทางบกเป็นสัดส่วนสูงสุดเมื่อเทียบกับโหมดการขนส่งอื่น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการขนส่ง โดยเป็นการขนส่งภายในประเทศด้วยรถบรรทุก จากการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง รวมทั้งการศึกษาข้อกำหนดและกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ผู้วิจัยจึงออกแบบและพัฒนาตัวชี้วัดทั้งหมด 23 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า 6 ตัวชี้วัด ด้านกระบวนการ 9 ตัวชี้วัด และด้านผลลัพธ์ 8 ตัวชี้วัด โดยมีทั้งตัวชี้วัดเชิงปริมาณซึ่งมีเกณฑ์การวัดค่าเป็นร้อยละ และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพซึ่งมีเกณฑ์วัดค่าเป็นคะแนนแบบรูบริค ทั้งนี้แต่ละตัวชี้วัดถูกแบ่งการประเมินค่าออกเป็น 5 ระดับ และได้รับการตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง นอกจากนี้ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับบริษัทผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุกซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมการค้าโลจิสติกส์ไทยแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พบว่า บริษัทผู้ให้บริการขนส่งของสมาคมการค้าโลจิสติกส์ไทยแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.88 แต่ยังมีบางตัวชี้วัดที่ผู้ให้บริการควรปรับปรุงการดำเนินงาน ได้แก่ การตรวจสารเสพติดในพนักงานขับรถ การเสียค่าปรับจากการเดินรถผิดกฎจราจร และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในการเดินรถ เป็นต้น ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยครั้งนี้ บริษัทต่าง ๆ ที่เป็นผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุกสามารถนำไปใช้ในการประเมินตนเองเพื่อให้ทราบถึงระดับประสิทธิภาพในการให้บริการ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก เช่น มาตรฐาน Q-Mark หรือมาตรฐานอื่น ๆ ได้","PeriodicalId":145995,"journal":{"name":"Suranaree Journal of Social Science","volume":"14 1","pages":"0"},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2020-12-23","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการขนส่ง\",\"authors\":\"โรจนี หอมชาลี, มะนิกา ละมณี, ศิรภัสสร แก่นสิงห์\",\"doi\":\"10.55766/lvjq4727\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"ประเทศไทยมีการขนส่งทางบกเป็นสัดส่วนสูงสุดเมื่อเทียบกับโหมดการขนส่งอื่น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการขนส่ง โดยเป็นการขนส่งภายในประเทศด้วยรถบรรทุก จากการทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง รวมทั้งการศึกษาข้อกำหนดและกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ผู้วิจัยจึงออกแบบและพัฒนาตัวชี้วัดทั้งหมด 23 ตัวชี้วัด แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า 6 ตัวชี้วัด ด้านกระบวนการ 9 ตัวชี้วัด และด้านผลลัพธ์ 8 ตัวชี้วัด โดยมีทั้งตัวชี้วัดเชิงปริมาณซึ่งมีเกณฑ์การวัดค่าเป็นร้อยละ และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพซึ่งมีเกณฑ์วัดค่าเป็นคะแนนแบบรูบริค ทั้งนี้แต่ละตัวชี้วัดถูกแบ่งการประเมินค่าออกเป็น 5 ระดับ และได้รับการตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง นอกจากนี้ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับบริษัทผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุกซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมการค้าโลจิสติกส์ไทยแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พบว่า บริษัทผู้ให้บริการขนส่งของสมาคมการค้าโลจิสติกส์ไทยแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง มีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก ด้วยคะแนนเฉลี่ย 4.88 แต่ยังมีบางตัวชี้วัดที่ผู้ให้บริการควรปรับปรุงการดำเนินงาน ได้แก่ การตรวจสารเสพติดในพนักงานขับรถ การเสียค่าปรับจากการเดินรถผิดกฎจราจร และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในการเดินรถ เป็นต้น ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยครั้งนี้ บริษัทต่าง ๆ ที่เป็นผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุกสามารถนำไปใช้ในการประเมินตนเองเพื่อให้ทราบถึงระดับประสิทธิภาพในการให้บริการ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐานคุณภาพบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก เช่น มาตรฐาน Q-Mark หรือมาตรฐานอื่น ๆ ได้\",\"PeriodicalId\":145995,\"journal\":{\"name\":\"Suranaree Journal of Social Science\",\"volume\":\"14 1\",\"pages\":\"0\"},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2020-12-23\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"Suranaree Journal of Social Science\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.55766/lvjq4727\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Suranaree Journal of Social Science","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.55766/lvjq4727","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0