{"title":"ผลของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6","authors":"พิริยา ม่วงแจ่ม, เด่นดาว ชลวิทย์","doi":"10.60027/iarj.2024.277002","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การอ่านมีความสำคัญ สืบเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์รู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การอ่านจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้อ่าน มีความรู้และความคิดกว้างไกล โดยเฉพาะการอ่านเพื่อความเข้าใจ จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านได้อย่างแท้จริง แต่ด้วยปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจในปัจจุบัน พบว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจเรื่องราวอย่างแท้จริง ไม่สามารถจับประเด็นสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้ ประกอบกับขาดความรู้ความเข้าใจในการอ่านที่ถูกต้อง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจจะนำวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ที่เป็นการผสมผสานบูรณาการการจัดกิจกรรมมาพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน\nระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ) สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 41 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre-Experimental Design) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA จำนวน 3 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในทดสอบสมมติฐานคือทดสอบค่า (t–test dependent)\nผลการวิจัย: คะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA มีค่าเฉลี่ย 13.66 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.09 และหลังใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 18.95 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.09 ซึ่งสรุปได้ว่า ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบ MIA มีกิจกรรมการสอนที่หลากหลากผสมผสานทั้งฟัง ดู พูด อ่าน เขียน ควบคู่กันไปตลอด เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและความสนุกสนานจากการทำกิจกรรม สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้นักเรียนเรียนพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น\nสรุปผล: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจในการอ่านดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีบริหารจัดการการเรียนรู้แบบ MIA วิธีการบูรณาการของวิธีการ MIA ซึ่งรวมเอากิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียน เน้นย้ำถึงประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะความเข้าใจ และช่วยให้นักเรียนมีบทบาทอย่างแข็งขันในการพัฒนาการอ่านของตนเอง","PeriodicalId":505621,"journal":{"name":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","volume":"67 45","pages":""},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2024-07-24","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"ผลของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6\",\"authors\":\"พิริยา ม่วงแจ่ม, เด่นดาว ชลวิทย์\",\"doi\":\"10.60027/iarj.2024.277002\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การอ่านมีความสำคัญ สืบเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์รู้จักค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การอ่านจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้อ่าน มีความรู้และความคิดกว้างไกล โดยเฉพาะการอ่านเพื่อความเข้าใจ จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจสิ่งที่อ่านได้อย่างแท้จริง แต่ด้วยปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจในปัจจุบัน พบว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจเรื่องราวอย่างแท้จริง ไม่สามารถจับประเด็นสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการอ่านต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้ ประกอบกับขาดความรู้ความเข้าใจในการอ่านที่ถูกต้อง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจจะนำวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ที่เป็นการผสมผสานบูรณาการการจัดกิจกรรมมาพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน\\nระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ) สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 41 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre-Experimental Design) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA จำนวน 3 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่ใช้ในทดสอบสมมติฐานคือทดสอบค่า (t–test dependent)\\nผลการวิจัย: คะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA มีค่าเฉลี่ย 13.66 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.09 และหลังใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 18.95 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.09 ซึ่งสรุปได้ว่า ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ MIA สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบ MIA มีกิจกรรมการสอนที่หลากหลากผสมผสานทั้งฟัง ดู พูด อ่าน เขียน ควบคู่กันไปตลอด เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นและความสนุกสนานจากการทำกิจกรรม สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้นักเรียนเรียนพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น\\nสรุปผล: ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจในการอ่านดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการสอนโดยใช้วิธีบริหารจัดการการเรียนรู้แบบ MIA วิธีการบูรณาการของวิธีการ MIA ซึ่งรวมเอากิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักเรียน เน้นย้ำถึงประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะความเข้าใจ และช่วยให้นักเรียนมีบทบาทอย่างแข็งขันในการพัฒนาการอ่านของตนเอง\",\"PeriodicalId\":505621,\"journal\":{\"name\":\"Interdisciplinary Academic and Research Journal\",\"volume\":\"67 45\",\"pages\":\"\"},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2024-07-24\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"Interdisciplinary Academic and Research Journal\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277002\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"Interdisciplinary Academic and Research Journal","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.60027/iarj.2024.277002","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0