{"title":"การใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว","authors":"เอมอร ทาระคำ, โชคนิติพัฒน์ วิสูญ","doi":"10.60099/jtnmc.v39i01.265472","DOIUrl":null,"url":null,"abstract":"บทนำ ปัญหาของการดูแลเด็กเปราะบางทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในประเทศไทยทั้งในชุมชนเมืองและชนบท จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างทีมงานและเครือข่ายจากหลากหลายสาขาที่เชื่อมโยงทั้งคลินิกและชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทีมดูแลสุขภาพแบบสหวิชาชีพในการนำไปปฏิบัติจริงเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กเปราะบางและครอบครัว \nวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และผลของการใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว \nการออกแบบวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ \nวิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือเด็กเปราะบางที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 คน ผู้ดูแลเด็กเปราะบางจำนวน 18 คน และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 15 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป การจัดการรายกรณี แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัว และแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของการจัดการรายกรณี แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัวและแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ เท่ากับ .81, .80 และ .85 ตามลำดับ การตรวจสอบความเชื่อมั่นของ แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .79 และ .76 ตามลำดับ นำแนวปฏิบัติ เฉพาะแต่ละประเภทของเด็กเปราะบางไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างทุกรายที่เข้ารับการรักษา และการตรวจเยี่ยม 4 ครั้งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ลงบันทึกข้อมูลการจัดการรายกรณีทุกรายในระหว่างโครงการ รวบรวมข้อมูลความพึงพอใจ ก่อนและหลังการเข้าเยี่ยมครั้งที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบวิลคอกซัน \nผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.22) อายุเฉลี่ย 11.66 ปี (SD = 3.18) มีภาวะเปราะบาง ด้านสังคม (ร้อยละ 61.1) รองลงมาคือด้านจิตใจ (ร้อยละ 33.33) และด้านร่างกาย (ร้อยละ 5.56) ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.78 ) มีอายุเฉลี่ย 53.33 ปี (SD = 3.64) มีความสัมพันธ์กับเด็กโดยเป็นปู่ย่า-ตายาย (ร้อยละ 55.56) และมารดา (ร้อยละ 38.89) ทีมสหวิชาชีพประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา เภสัชกร และนักกายภาพบำบัด ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการดูแลถูกนำไปใช้เกือบทุกขั้นตอน ยกเว้นการวางแผนฉุกเฉิน ดำเนินการเพียงบางราย ผลการดำเนินงานด้านความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัว และของกลุ่มสหวิชาชีพ ต่อแนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลพบว่า มีคะแนนความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -3.626, p<.001; z = -3.430, p = .001 ตามลำดับ) ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการกลับมารักษาซ้ำ \nข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการดูแลเด็กเปราะบางโดยใช้การจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในเบื้องต้น การสร้างระบบการจัดการการดูแลระยะยาว การเพิ่มขีดความสามารถของทีมในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของเด็กและครอบครัว และการให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ทีมสามารถนำเด็กและครอบครัวออกจากความเปราะบางได้","PeriodicalId":507625,"journal":{"name":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","volume":null,"pages":null},"PeriodicalIF":0.0000,"publicationDate":"2024-03-26","publicationTypes":"Journal Article","fieldsOfStudy":null,"isOpenAccess":false,"openAccessPdf":"","citationCount":"0","resultStr":"{\"title\":\"การใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว\",\"authors\":\"เอมอร ทาระคำ, โชคนิติพัฒน์ วิสูญ\",\"doi\":\"10.60099/jtnmc.v39i01.265472\",\"DOIUrl\":null,\"url\":null,\"abstract\":\"บทนำ ปัญหาของการดูแลเด็กเปราะบางทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในประเทศไทยทั้งในชุมชนเมืองและชนบท จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างทีมงานและเครือข่ายจากหลากหลายสาขาที่เชื่อมโยงทั้งคลินิกและชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทีมดูแลสุขภาพแบบสหวิชาชีพในการนำไปปฏิบัติจริงเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กเปราะบางและครอบครัว \\nวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และผลของการใช้แนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลในการดูแลเด็กเปราะบางและครอบครัว \\nการออกแบบวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ \\nวิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือเด็กเปราะบางที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 18 คน ผู้ดูแลเด็กเปราะบางจำนวน 18 คน และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 15 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป การจัดการรายกรณี แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัว และแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของการจัดการรายกรณี แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัวและแบบประเมินความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ เท่ากับ .81, .80 และ .85 ตามลำดับ การตรวจสอบความเชื่อมั่นของ แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .79 และ .76 ตามลำดับ นำแนวปฏิบัติ เฉพาะแต่ละประเภทของเด็กเปราะบางไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างทุกรายที่เข้ารับการรักษา และการตรวจเยี่ยม 4 ครั้งหลังจากออกจากโรงพยาบาล ลงบันทึกข้อมูลการจัดการรายกรณีทุกรายในระหว่างโครงการ รวบรวมข้อมูลความพึงพอใจ ก่อนและหลังการเข้าเยี่ยมครั้งที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบวิลคอกซัน \\nผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.22) อายุเฉลี่ย 11.66 ปี (SD = 3.18) มีภาวะเปราะบาง ด้านสังคม (ร้อยละ 61.1) รองลงมาคือด้านจิตใจ (ร้อยละ 33.33) และด้านร่างกาย (ร้อยละ 5.56) ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 77.78 ) มีอายุเฉลี่ย 53.33 ปี (SD = 3.64) มีความสัมพันธ์กับเด็กโดยเป็นปู่ย่า-ตายาย (ร้อยละ 55.56) และมารดา (ร้อยละ 38.89) ทีมสหวิชาชีพประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา เภสัชกร และนักกายภาพบำบัด ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการดูแลถูกนำไปใช้เกือบทุกขั้นตอน ยกเว้นการวางแผนฉุกเฉิน ดำเนินการเพียงบางราย ผลการดำเนินงานด้านความพึงพอใจของเด็กเปราะบางและครอบครัว และของกลุ่มสหวิชาชีพ ต่อแนวทางการจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาลพบว่า มีคะแนนความพึงพอใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -3.626, p<.001; z = -3.430, p = .001 ตามลำดับ) ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการกลับมารักษาซ้ำ \\nข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการดูแลเด็กเปราะบางโดยใช้การจัดการรายกรณีที่นำโดยพยาบาล ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในเบื้องต้น การสร้างระบบการจัดการการดูแลระยะยาว การเพิ่มขีดความสามารถของทีมในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนของเด็กและครอบครัว และการให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ทีมสามารถนำเด็กและครอบครัวออกจากความเปราะบางได้\",\"PeriodicalId\":507625,\"journal\":{\"name\":\"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council\",\"volume\":null,\"pages\":null},\"PeriodicalIF\":0.0000,\"publicationDate\":\"2024-03-26\",\"publicationTypes\":\"Journal Article\",\"fieldsOfStudy\":null,\"isOpenAccess\":false,\"openAccessPdf\":\"\",\"citationCount\":\"0\",\"resultStr\":null,\"platform\":\"Semanticscholar\",\"paperid\":null,\"PeriodicalName\":\"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council\",\"FirstCategoryId\":\"1085\",\"ListUrlMain\":\"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.265472\",\"RegionNum\":0,\"RegionCategory\":null,\"ArticlePicture\":[],\"TitleCN\":null,\"AbstractTextCN\":null,\"PMCID\":null,\"EPubDate\":\"\",\"PubModel\":\"\",\"JCR\":\"\",\"JCRName\":\"\",\"Score\":null,\"Total\":0}","platform":"Semanticscholar","paperid":null,"PeriodicalName":"The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council","FirstCategoryId":"1085","ListUrlMain":"https://doi.org/10.60099/jtnmc.v39i01.265472","RegionNum":0,"RegionCategory":null,"ArticlePicture":[],"TitleCN":null,"AbstractTextCN":null,"PMCID":null,"EPubDate":"","PubModel":"","JCR":"","JCRName":"","Score":null,"Total":0}
引用次数: 0